Karen Gilchrist เขียน DigitalArticleWOW แปล
การที่จะสร้างธุรกิจอะไรสักอย่างขึ้นมาได้นั้นมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะเอาชนะอุปสรรคต่างๆระหว่างทางเพราะว่าธุรกิจส่วนใหญ่นั้นมักจะขาดคุณสมบัติของ Global appeal หรือ ‘ความดึงดูดใจในระดับโลก’ เพราะสิ่งนี้เองที่จะช่วยดันธุรกิจของคุณให้ขึ้นไปสู่เป้าหมายอันสูงสุดได้!
และนี่ก็คือสิ่งที่ใช่เลย! เป็นสิ่งที่ Eric Gnock Fah กระทำอยู่ในตอนนี้ หลังจากที่เขาได้ลาออกจากงานสายอาชีพด้านการเงินเมื่อปี 2014 เพื่อที่จะออกมาทำธุรกิจบริการรับจองทริปท่องเที่ยวผ่านทางแอพพลิเคชั่นบนมือถือแทน ‘ผมก็แค่อยากจะเริ่มลองทำธุรกิจอะไรบางอย่างที่ผมชอบและก็มีความถนัดมากพอและก็ต้องเป็นธุรกิจที่ตอบสนองต่อคนทั้งโลกได้ด้วยน่ะ’ เขากล่าว
เวลาผ่านไปเพียงสี่ปี Klook แพลตฟอร์ม (แอพ) ในแต่ละเดือนก็จะมีคนเข้ามาเยี่ยมชมแล้วไม่ต่ำกว่า 20 ล้านคนจากหลากหลายกว่า 100 ประเทศทั่วโลกและมันยังถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสตาร์ทอัพสายเลือดฮ่องกงที่สามารถฟันทะลุระดับหนึ่งพันล้านอย่างหิวกระหาย (the much-coveted $1 billion) และยังครองตำแหน่ง Unicorn ไปเรียบร้อยแล้วด้วย!
อย่างไรก็ดีเส้นทางนี้ก็ไม่ได้โรยด้วยดอกกุหลาบ (แต่หนามกุหลาบ~ผู้แปล) Gnock Fah หัวหน้าฝ่ายปฎิบัติการของ Klook ได้กล่าวกับทางรายการ CNBC Make it ถึงกฎสามข้อแห่งการตัดสินใจอันยิ่งใหญ่ที่ได้ช่วยให้เขาและทีมงานสามารถดำเนินธุรกิจอันนี้และสามารถยืนหยัดอยู่บนเส้นทางสายนี้มาได้จวบจนถึงปัจจุบัน
“พวกนักลงทุนทั้งหลายต่างพากันคิดว่าคนที่มาจากโลกธุรกิจทางการเงินนั้น มักจะเก่งในเรื่องของการปรับแต่งสมุดรายงานเพื่อผลทางธุรกิจหรือ pitch-book, คือเก่งในการนำเสนอแต่ในความจริงแล้วก็ไม่ได้เก่งอะไรในการทำธุรกิจ ดังนั้นเราจึงมักได้รับการปฎิเสธจากนักลงทุนช่วงก่อนหน้านั้น..มากมาย”
กฎข้อแรกเลยก็คือ : ให้หลีกเลี่ยงการที่จะเป็นธุรกิจเฉพาะด้านเกินไป (Avoid going too niche)
มันมักจะมีเส้นเล็กๆบางๆเส้นหนึ่งที่กั้นระหว่างความคิดแรกเริ่มในการดำเนินธุรกิจกับความคิดที่กำกวม (ไม่ชัดเจน) ในการคิดที่จะจับลูกค้าให้อยู่หมัดเสียให้ได้! ถ้าหากว่าคุณคิดอยากจะให้ธุรกิจของคุณเติบโตไปได้ในระดับนานาชาติ (international growth) แล้วล่ะก็คุณเองก็ต้องมั่นใจให้ได้เสียก่อนว่าธุรกิจของคุณนั้นมันมีความดึงดูดใจในระดับโลกอย่างเพียงพอหรือไม่, Gnock Fah กล่าวต่อ
‘พวกเราเองมักจะสะดุดอยู่กับความคิดเหล่านี้ค่อนข้างจะบ่อยเอามากๆ’ Gnock Fah ผู้ซึ่งเคยคาดหวังอยากจะให้ธุรกิจของเขาเปิดให้บริการเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนจีนเท่านั้น
สุดท้ายเขากลับพบด้วยตัวเองว่าหากคิดอยากที่จะสร้างฝันอันยิ่งใหญ่และเอาชนะมันให้ได้ เขาจะต้องมั่นใจให้ได้เสียก่อนว่ากลวิธีในการดำเนินธุรกิจของเขานั้นจะต้องตอบสนองลูกค้าในระดับโลกให้ได้ด้วย ไม่ใช่เอาแค่เฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น ‘คุณเองก็จะต้องหากลวิธีบางอย่างที่สามารถทำซ้ำๆได้ (replicate) หากคุณคิดที่ อยากจะสร้างแพลตฟอร์มที่มันใหญ่ขึ้นๆเรื่อยๆ’
นั่นก็หมายความว่ากลุ่มลูกค้าที่คุณคิดจะให้บริการในแต่ละครั้งนั้นก็ไม่ควรจะมากเกินความพอดี (จนคุณให้บริการได้ไม่ทั่วถึงหรือไม่ดีพอ~ผู้แปล) ซึ่งก็ควรจะต้องพิจารณาดูให้เหมาะสมต่อทุกระดับฐานลูกค้า (niche platforms) ของคุณให้ดีที่สุดด้วยและหากว่าคุณทำมันได้ดีแล้วล่ะก็ส่วนแบ่งทางการตลาดคุณก็จะได้รับเพิ่มขึ้นอย่างเรื่อยๆ (แบบไม่รู้ตัว~ผู้แปล) อีกด้วยครับ, Gnock Fah กล่าวทิ้งท้ายด้วยความมั่นใจ
กฎข้อที่สองก็คือ : จงสร้างวัฒนธรรมในองค์กรซะ! (Create company culture)
ในขณะที่ธุรกิจของเรากำลังไปได้สวย เราก็มักจะหลงไปให้ความสำคัญกับเรื่องของแผนการณ์ดำเนินธุรกิจ (major milestones) มากกว่าที่จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่จำเป็นและน่าจะสำคัญยิ่งกว่า (essentials) นั่นคือในเรื่องของการเป็นอยู่หรือดำรงอยู่ของตัวบริษัทเอง
สิ่งนั้นก็คือการสร้างโครงสร้างทางการบริหารที่ถูกต้องอันจะนำไปสู่การได้ทีมงานบริหารที่ดีเข้ามาสู่บริษัท (right structures) ยกตัวอย่างเช่น แผนกพัฒนาบุคคล (HR and legal department) เป็นต้น และหลังจากนั้นก็ต้องเพ่งสมาธิทั้งหมดไปในการสร้างวัฒนธรรมที่ดีให้เกิดขึ้นกับองค์กรของเราให้ได้ เพราะถ้าหากปราศจากตรงนี้แล้วล่ะก็มันก็จะกลายเป็นเรื่องที่ยากขึ้นเรื่อยๆในอันที่แม้แต่จะขายสินค้าหรือดำเนินธุรกิจไปข้างหน้าให้ได้ดี
"ลองคิดดูสิ! เมื่อบริษัทเราเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มันก็จะกลายเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่เราจะต้องหวนคืนกลับมาคิดถึงเรื่องของโครงสร้างการบริหารกันอีกรอบและพอถึงตอนนั้นพวกเราก็ต้องมาเสียพลังงานภายในกันเป็นอย่างมากอีกด้วย ซึ่งผมคิดว่ามันจะดีกว่าที่เราจะเริ่มทำมันจากข้างในมากกว่าทำจากข้างนอกเข้ามาน่ะ" Gnock Fah กล่าว
"นั่นแหล่ะคือสิ่งที่พวกเราเพิ่งจะนึกขึ้นได้เมื่อต้นปีนี่เอง..ว่า เฮ้ย!พวกเรายังไม่มีแผนกพัฒนาบุคคลที่ดีเลยนี่นา พวกเรายังไม่มีทีมบริหารที่รับผิดชอบงานอย่างเป็นทางการกันเลยนี่นา แต่พวกเราก็กลับคิดเอาเองว่าเอาไว้ให้บริษัทโตกว่านี้เสียก่อนแล้วค่อยมาพูดถึงเรื่องนี้กัน ทั้งๆที่เรื่องนี้มันเป็นเรื่องที่สำคัญมากพอๆกับการขับเคลื่อนธุรกิจไปให้ได้ทีเดียวล่ะ" หนุ่มวัย 31 ปีกล่าวย้ำ
กฎข้อสุดท้ายคือ : จงทำความรู้จักกับนักลงทุนของคุณให้ดีๆ (Know your investors)
ไม่ว่าคุณจะเริ่มทำธุรกิจสตาร์ทอัพของคุณเองด้วยงบประมาณที่ค่อนข้างจะจำกัดจำเขี่ยหรือว่าอย่างมากมายจนล้นเหลือก็ตามที ยังไงๆมันก็ถึงเวลาแล้วล่ะ ที่คุณจำเป็นจะต้องมองหาแหล่งเงินทุนภายนอกไว้บ้างแล้วล่ะ (น่ะ)
นักลงทุนทุกคนล้วนแล้วแต่จ้องมองหาแต่เหตุผลดีๆในการเลือกที่จะวางเงินลงทุนของพวกเขาเอง ดังนั้นคุณเองจึงมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขว้างลูกออกไปให้สุดแรง (เพื่อให้ไปถึงมือของพวกเขาให้ได้~ผู้แปล) นั่นก็หมายความว่าคุณไม่เพียงแค่จะต้องขายไอเดียเยี่ยมๆของคุณเท่านั้น แต่คุณจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าคุณคือคนที่ใช่เลย! คุณคือคนที่สามารถจะทำมันให้สำเร็จให้จงได้ในที่สุด
สำหรับ Gnock Fah เองแล้วสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นดูเหมือนว่าจะพูดเอาง่ายแต่เอาเข้าจริงๆแล้วกลับทำได้ยากลำบากยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เคยทำงานทางด้านสายการเงินเช่นเขามาก่อนเพราะอะไร ก็เพราะว่าพวกนักลงทุนต่างพากันคิดว่าเขาเหมาะที่จะเป็นนักขาย (salesman) มากกว่าที่จะเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneur) เสียอีก
"ผมยังจำได้ดีว่ามีนักลงทุนจำนวนไม่น้อยภายหลังจากที่รู้ว่าพวกเรามาจากสายธุรกิจการเงินกันมาก่อน แล้วก็จึงพากันเลิกสนใจในสิ่งที่พวกเราเคยนำเสนอไปโดยปริยาย" เขาพูด "พวกนักลงทุนทั้งหลายต่างพากันคิดว่าคนที่มาจากโลกธุรกิจทางการเงินนั้น มักจะเก่งในเรื่องของการปรับแต่งสมุดรายงานเพื่อผลทางธุรกิจหรือ pitch-book, คือเก่งในการนำเสนอแต่ในความจริงแล้วก็ไม่ได้เก่งอะไรในการทำธุรกิจ ดังนั้นเราจึงมักได้รับการปฎิเสธจากนักลงทุนช่วงก่อนหน้านั้น มากมาย"
ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่สำคัญเอามากๆที่คุณควรจะต้องมีสมุดรายงานผลทางธุรกิจที่ตรงกับความเป็นจริง (ไม่ดูเฟค~ผู้เขียน) และก็ควรจะได้นักลงทุนที่มีแนวโน้มหรือมีท่าทีจะสนใจในธุรกิจของคุณอย่างจริงๆจังๆ (prospective investors) ทั้งนี้ก็เพื่อที่ว่าจะได้พิสูจน์ถึงความเชื่อมั่น (creditibility) ในตัวของคุณเองและก็จะได้แสดงให้นักลงทุนเขาเห็นว่าเขาควรจะได้รับอะไรจากธุรกิจของคุณบ้าง
หลังจากที่ได้ดำเนินธุรกิจมาแล้วสี่ปี สตาร์ทอัพอย่าง Klook ก็ได้รับการสนับสนุนทางการเงินมากถึง 300 ล้านเหรียญสหรัฐจากนักลงทุนอย่าง Sequoia China, Matrix Partners และ Goldman Sachs (ว้าว)
"แต่ก็ยังมีบางคนที่อุตส่าห์เดินเข้ามาพูดคุยกับเราแล้วก็มักจะพูดว่าการที่ Klook สามารถระดมทุนได้มากมายจนประสพผลสำเร็จได้เป็นอย่างดีนั้นก็เป็นเพราะว่าพวกเรานั้นมาจากสายธุรกิจการเงินกันมาก่อน" Gnock Fan กล่าวก่อนจะทิ้งท้ายแบบติดตลกว่า "แต่จริงๆแล้วพวกเขาเหล่านั้นน่ะไม่เคยรู้หรอกว่าสิ่งนั้นน่ะ (finance background) มันคืออุปสรรคตัวพ่อดีๆนี่เอง 55"
Ola บริษัทแอพพลิเคชั่นที่ให้บริการผู้โดยสาร (ride-hailing application firm) สัญชาติอินเดียตัดสินใจลงทุนเพิ่มขึ้นอีก 100 ล้านเหรียญกับหุ้นส่วนทางธุรกิจอย่าง Vogo
https://timeline.line.me/post/_deSweeRLeVhsOkRLXzAnXwbWRtxAUE9zmU-Q1FM/1154519774902036115
Comments